Tuesday, August 16, 2011

Blu-ray คืออะไร

Blu-ray (BD) เป็นมาตราฐานใหม่ของแผ่นหนัง โดยแกนหลักคือค่าย Sony โดย Blu-ray ชั้นเดียว จะมีความจุ 25 GB
ซึ่งทำให้สามารถบรรจุไฟล์หนังที่มีความละเอียดสูงได้ (Hi-Definition)
ปัจจุบัน มี BD25 (Single Layer) กับ BD50 (Double/Dual Layer) แต่โดยเทคโนโลยี่แล้ว เคยพบข่าวว่าสามารถทำได้ 8 layer (หรือ 200 GB ต่อแผ่น)

BD-R เป็นแผ่นบลูเรย์ ชนิดเขียนได้ ราคาณ.ตอนที่เขียนบทความนี้ ประมาณ 4-500 ต่อแผ่นครับ

HD DVD เป็นมาตราฐานแผ่นหนัง โดยค่าย Toshiba ซึ่งปัจจุบัน ยกธงขาว จึงถือว่าตายไปแล้ว
HD DVD ชั้นเดียวความจุ 15 GB ส่วนสองชั้น 30 GB

B2D (Blu-ray to DVD) เป็นศัพท์ใหม่ แต่ก่อนที่จะอธิบาย กรุณาอ่านข้อมูลคร่าวๆ
=> ปัจจุบันแผ่นผี ที่เป็นแผ่นปั๊ม BD ยังไม่มี
=> แผ่น BD-R เปล่าๆ ราคายังคงแพงมากๆ
=> รูปแบบไฟล์วิดีโอ Codecsที่บรรจุอยู่ในแผ่น BD มีอยู่ 3 แบบ คือ MPEG2, AVC/H264 และ VC-1

B2D 4D (Blu-ray to DVD for DVD Player)
ที่ด้วยความนิยม BD มีมากขึ้น ทำให้มีพ่อค้าหัวใสบางคน ซึ่งสามารถดึงไฟล์จากแผ่น BD แท้เช่นที่เป็น MPEG2
ออกมาบีบอัด แล้วบันทึกใส่แผ่น DVD9 ซึ่งบางครั้งก็ชัดกว่าหนังเรื่องนั้นในรูปแบบ DVD9 เล็กน้อย
หรือไม่ก็ชัดน้อยกว่าด้วยซ้ำ อันเนื่องมาจากการแปลงไฟล์ แผ่นรูปแบบนี้ สามารถเล่นได้ในเครื่องเล่น DVD ทั่วๆไป

B2D 4C (Blu-ray to DVD for Hi-Def PC)
เนื่องด้วย ไฟล์ไฮเดฟ สามารถแปลงและย่อขนาด เพื่อนำมาเล่นใน PC ได้
ทำให้มีพ่อค้าบางกลุ่ม ดึงไฟล์จากแผ่น BD แล้วแปลงเป็นไฟล์บางอย่าง (ผมไม่สันทัด) ซึ่งมีขนาดเล็กลง
แล้วนำมาเขียนลงแผ่น DVD ซึ่งแผ่นชนิดนี้ ไม่สามารถเล่นบนเครื่อง DVD ทั่วไปได้
ต้องเล่นบน Hi-Def PC หรือไม่ก็ BD Player ที่ Support ไฟล์ชนิดนั้นๆ

BDF (BD Fake) หรือ B2DF (B2D Fake)
เนื่องจากความนิยมอยากรู้อยากเห็น ฟอร์แมตใหม่ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
พ่อค้าไม่ซื่อบางคน ได้นำหน้าปกของกล่อง BD มาใช้ ทั้งๆที่ข้างในนั้น คือ DVD9
โดยดูจากหนังเรื่องนั้นๆ ยังไม่เคยมีการออกเป็น BD เลย
รูปแบบนี้ กำลังพบเห็นมากๆที่ ไอทีมอลล์ ฟอร์จูน

Blu-ray คืออะไร
Blu-ray ...หรือรู้จักกันในนาม Blu-ray Disc(BD) คือชื่อเรียกของรูปแบบ ออฟติคอลดิสค์ ในรุ่นถัดไป
รูปแบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการบันทึก, เขียนซ้ำ และเล่นวิดีโอ high-definition (HD) รวมทั้งใช้เก็บข้อมูลปริมาณมหาศาล
รูป แบบนี้ เสนอความจุในการเก็บ กว่า 5 เท่าของ DVD ทั่วไป และสามารถเก็บข้อมูลได้สูงถึง 25 GB บนแผ่นดิสค์ชั้นเดียว และ 50 GB บนแผ่นดิสค์ 2 ชั้น

ทำไมถึงชื่อ Blu-ray ?

ชื่อของ "บลูเรย์" ได้มาจากเทคโนลโลยี่ ที่รองรับมันอยู่ ซึ่งใช้เลเซอร์สี "ฟ้า-ม่วง" เพื่ออ่าน และเขียนข้อมูล
ชื่อเป็นคำผสมของ "Blue" (เลเซอร์สี ฟ้า-ม่วง) และ "Ray" (ลำแสง)
ยึดตาม "Blu-ray Disc Association" การสะกดคำว่า "Blu-ray" ไม่ใช่คำผิดพลาด
เพราะตัวอักษร "e" ถูกตั้งใจตัดทิ้งไป เพื่อที่ถ้อยคำดังกล่าว จะสามารถจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้

ชื่อเต็มที่ถูกต้องคือ "Blu-ray Disc" ไม่ใช่ Blu-ray Disk (เป็นการสะกดผิด)
ชื่อสั้นๆที่ถูกต้องคือ "Blu-ray" ไม่ใช่ "Blu-Ray" (ใช้ตัวอักษรใหญ่ผิด) ไม่ใช่ "Blue-ray" (สะกดผิด)
คำย่อที่ถูกต้อง คือ "BD" ไม่ใช่ "BR" หรือ "BRD" ซึ่งเป็นคำย่อที่ผิด

ใครพัฒนา "Blu-ray" ขึ้นมา ?

รูปแบบ บลูเรย์ ดิสค์ ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดย Blu-ray Disc Association (BDA)
ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำเครื่องใช้ไฟฟ้าบริโภค คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และผู้ผลิตสื่อ อันมีสมาชิกมากกว่า 170 บริษัทจากทั่วโลก
คณะกรรมการปัจจุบัน ประกอบไปด้วย ตัวแทนจากบริษัทเหล่านี้

Apple Computer, Inc.
Dell Inc.
Hewlett Packard Company
Hitachi, Ltd.
LG Electronics Inc.
Matsushita Electric Industrial Co., Ltd.
Mitsubishi Electric Corporation
Pioneer Corporation
Royal Philips Electronics
Samsung Electronics Co., Ltd.
Sharp Corporation
Sony Corporation
TDK Corporation
Thomson Multimedia
Twentieth Century Fox
Walt Disney Pictures
Warner Bros. Entertainment

มีการวางแผนรูปแบบ Blu-ray ไว้ยังไง ?

ก็เหมือน CD และ DVD ทั่วๆไป ที่ Blu-ray ได้ถูกวางแผนรูปแบบไว้อย่างกว้าง ซึ่งรวมไปถึง ROM/R/RW
รูปแบบต่อไปนี้ เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนด Blu-ray Disc

BD-ROM เป็นรูปแบบการอ่านอย่างเดียว สำหรับเพื่อจำหน่าย ภาพยนตร์ HD, เกมส์, ซอฟแวร์ และอื่นๆ
BD-R เป็นรูปแบบบันทึกได้ สำหรับบันทึกภาพวิดีโอ HD และเก็บข้อมูล PC
BD-RE เป็นรูปแบบบันทึกซ้ำได้ สำหรับบันทึกภาพวิดีโอ HD และเก็บข้อมูล PC

ยังมีการวางแผนให้มีรูปแบบลูกผสม BD/DVD ซึ่งเป็นการรวมเอา Blu-ray และ DVD อยู่บนแผ่นดิสค์เดียวกัน
ซึ่งมันสามารถเล่นได้ทั้งบนเครื่องเล่น Blu-ray และเครื่องเล่น DVD

คุณสามารถใส่ข้อมูลได้มากเท่าไหร่ บนแผ่น Blu-ray Disc ?

แผ่นชั้นเดียว สามารถรับได้ 25 GB
แผ่นสองชั้น สามารถรับได้ 50 GB

เพื่อความแน่ใจว่ารูปแบบ Blu-ray Disc ง่ายต่อการขยายการใช้งานในอนาคต
มันยังรวมไปถึงการสนับสนุนเป็น แผ่นดิสค์หลายชั้น (Multi-layer discs)
ซึ่งน่าจะยอมให้ปริมาณการเก็บเพิ่มขึ้นถึง 100-200 GB (25 GB ต่อชั้น)
โดยการเพิ่มจำนวนชั้นของแผ่นดิสค์ให้มากขึ้น

คุณบรรจุภาพวิดีโอ บนแผ่น Blu-ray ได้มากเท่าไหร่ ?

ได้กว่า 9 ชั่วโมงของภาพวิดีโอระดับ High-definition(HD) บนแผ่นขนาด 50GB
ราวๆ 23 ชั่วโมงของภาพวิดีโอ Standard-definition(SD) (คือวิดีโอทั่วๆไปบน DVD ตอนนี้) บนแผ่นขนาด 50 GB

ความเห็นส่วนตัว ........ ความจุขนาดนี้ เก็บ Series ได้ season นึงเลยล่ะ

คุณสามารถ อ่าน/เขียนข้อมูลบนแผ่น Blu-ray ได้เร็วแค่ไหน ?

ตามข้อกำหนดของแผ่น Blu-ray, ความเร็ว 1x ถูกกำหนดไว้ที่ 36 Mbps
อย่างไรก็ตามที่ ภาพยนต์ Blu-ray จำต้องใช้อัตราส่งผ่านข้อมูลที่ 54 Mbps ความเร็วต่ำสุดที่เราคาดว่าจะเห็นก็คือ 2x(72Mbps)
Blu-ray ยังมีศักยภาพสำหรับความเร็วที่สูงขึ้น อันเป็นผลจาก "ขนาดช่องรับแสง"(numerical aperture :NA) ที่ใหญ่กว่าที่แผ่น Blu-ray นำมาใช้
ค่า NA ที่ใหญ่ ส่งผลให้ Blu-ray ต้องการอำนาจการบันทึกที่น้อย และการหมุนของแผ่นที่น้อยกว่า DVD และ HD-DVD เพื่อบรรลุถึงอัตราส่งผ่านข้อมูลระดับเดียวกัน
ในขณะที่อดีต ตัวมีเดียเองจำกัดอยู่ที่อัตราการบันทึก แต่ปัจจัยจำกัดเดียวของ Blu-ray คือขนาดของฮาร์ดแวร์
ถ้าเราสมมุติความเร็วการหมุนของแผ่นสูงสุดที่ 10,000 RPM งั้น 12x ที่รัศมีนอกสุด ควรมีความเป็นไปได้ (ราวๆ 400 Mbps)
นี่คือเหตุผลที่ BDA ได้วางแผนเพิ่มความเร็วไปที่ 8x (288 Mbps) หรือมากกว่าในอนาคต เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Blu-ray จะสนับสนุน video codecs แบบไหน ?

MPEG-2 -enhanced สำหรับ HD ....ยังใช้ในการเล่นภาพบันทึก DVD และ HDTV ได้
MPEG-4-AVC .......ส่วนนึงของ มาตราฐาน MPEG-4 ซึ่งรู้จักกันในนาม H.264 (High Profile and Main Profile)
SMPTE VC-1 .......มาตราฐานตามเทคโนโลยี่ Microsoft's Windows Media Video(WMV)

โปรดสังเกตว่า นี่เป้นความตั้งใจที่ เครื่องเล่น และเครื่องบันทึก Blu-ray จำต้องสนับสนุนการเล่น video codec เหล่านี้
มันยังขึ้นอยู่กับ ค่ายสตูดิโอภาพยนตร์ ว่าจะตัดสินใจใช้ video codec ไหน กับผลงานที่จะปล่อยออกมา

http://forum.thaidvd.net/index.php?showtopic=72856
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C

No comments:

Post a Comment